หนิงปัว จีน, 26 ตุลาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ (Risen Energy) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ (PV) สมรรถนะสูงชั้นนำระดับโลก ยินดีที่ได้ประกาศว่าบริษัทได้รับการรับรองสัญชาติฝรั่งเศสด้านค่าการปล่อยคาร์บอนสำหรับโมดูลแสงอาทิตย์ไฮเปอร์ไอออนชนิดเฮทเทอโรจังก์ชัน (HJT) ความสำเร็จสำคัญนี้ปูทางสำหรับแผนการของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ที่จะขยายบทบาทในตลาดในประเทศฝรั่งเศส ขณะมุ่งดำเนินการต่อไปเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่ระดับโลกด้วยผลิตภัณฑ์แสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพสูง และมีคุณภาพสูงมากขึ้น
การรับรองดังกล่าวนี้จากเซอร์ทิโซลิส (Certisolis) สถาบันบุคคลที่สามซึ่งแต่งตั้งโดยกรรมาธิการกำกับดูแลพลังงานแห่งฝรั่งเศส (French Energy Regulatory Commission หรือ CRE) เพื่อเป็นแล็บปฏิบัติการแห่งเดียวที่ประเมินและให้การรับรองสมรรถนะของผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นการยืนยันว่าโมดูลไฮเปอร์ไอออนของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่มีค่าการปล่อยคาร์บอนอยู่ที่ 376.5 กก. คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (eq CO2) ต่อ kWc โมดูลแสงอาทิตย์นี้สร้างมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมสำหรับการปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ จึงมอบดีไซน์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับนวัตกรรมที่ก้าวหน้าล้ำสมัย ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มการผลิตพลังงานไฟฟ้า
"ในยุคสมัยที่ผลกระทบระดับโลกของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้กลายเป็นความจำเป็นสากลพื้นฐาน ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งมั่นที่จะบุกเบิกผลิตภัณฑ์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงคาร์บอนต่ำ การเปิดตัวซีรีส์ไฮเปอร์ไอออนถือเป็นหลักชัยใหม่สำหรับไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ โดยเป็นโซลูชันรุ่นใหม่ที่ลดต้นทุนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง พร้อมทั้งยกระดับค่าทางคาร์บอนให้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่เหนือชั้น ซีรีส์ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นเครื่องแสดงถึงการยึดมั่นในพันธกิจของเราที่จะขับเคลื่อนพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ตลอดจนความมุ่งหมายของเราที่จะมอบพลังให้แก่โลกในการเร่งมุ่งสู่อนาคตที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ด้วยผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม" คุณหลิว อ้าเฟิง (Liu Yafeng) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการวิจัยและพัฒนาของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ กล่าว
ซีรีส์ไฮเปอร์ไอออนของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี HJT ใหม่ล่าสุด โดยมีชั้นเลเยอร์ไมโครคริสตัลไลน์เคลือบอยู่บนทั้งสองด้านของเซลล์ การใช้สารทองแดงเคลือบด้วยเงินลดการบริโภคโลหะเงิน จึงช่วยลดต้นทุนโดยรวม
โมดูลในซีรีส์นี้ยังมาพร้อมกับไฮเปอร์ลิงก์ (Hyper-Link) เทคโนโลยีเชื่อมต่อพิเศษซึ่งพัฒนาโดยไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ นอกจากนี้ดีไซน์แบบไร้บัสบาร์ยังทำให้ไม่มีบัสบาร์บนตัวเซลล์เพื่อเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อยิ่งขึ้น
โมดูลซีรีส์นี้มีประสิทธิภาพสูงถึง 23.9% โดยมีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิที่มีเสถียรภาพสูงมากและมีอัตราประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าสูงถึง 85% ±10% ชั้นเวเฟอร์ที่บางกว่าและกระบวนการอุณหภูมิต่ำของ HJT ทำให้โมดูลสามารถมีค่าการปล่อยคาร์บอนต่ำกว่า 400 กก. คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อ kWc หลังจากเปิดตัวในปี 2565 โมดูลนี้ได้รับการรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน IEC 61215/IEC 61730
ด้วยผลกระทบที่เพิ่มสูงขึ้นของภาวะโลกรวนระดับโลก ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้กลายเป็นฉันทามติระดับโลก ในแง่นี้ ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งเป็นผู้เล่นระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ ได้โอบรับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมาโดยตลอด โดยได้ตอบสนองอย่างแข็งขันต่อการเรียกร้องระดับชาติสำหรับการพัฒนาคาร์บอนต่ำ ตลอดจนมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลิตผลสูงที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ
เกี่ยวกับไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่
ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ (Risen Energy) เป็นผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงและผู้ให้บริการโซลูชันธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าครบวงจรระดับโลก โดยเป็นบริษัทชั้นนำระดับเทียร์ 1 และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ "AAA" บริษัทก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 ก่อนที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2553 และสร้างมูลค่าให้แก่ลูกค้าทั่วโลก นวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพได้ทำให้โซลูชันเซลล์แสงอาทิตย์ครบวงจรสำหรับธุรกิจของไรเซ่นทรงพลังและคุ้มค่าที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทมีรากฐานการดำเนินงานที่มั่นคงในตลาดท้องถิ่นและมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เราจึงสามารถสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับเหล่าพันธมิตรเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย และร่วมกันคว้าประโยชน์สูงสุดจากพลังงานสีเขียวที่กำลังมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.