ผู้บริหารส่วนใหญ่มีแผนจะขยายสู่แอฟริกา แม้จะมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อตลาดเกิดใหม่
ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 6 กุมภาพันธ์ 2567 /PRNewswire/ — ผู้บริหารสายโลจิสติกส์ทั่วโลกยังคงกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย โดยระบุว่าตนกำลังต่อสู้รับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้น ลดการพึ่งพาการจัดหาจากจีน และวางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในแอฟริกา แม้จะมองว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่โดยรวมค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงกว่า
ครึ่งหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมทั้งหมด 830 รายที่ตอบแบบสำรวจประกอบการจัดทำดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2567 ของอจิลิตี้ (2024 Agility Emerging Markets Logistics Index) คาดว่าจะมีภาวะเศรษฐกิจถดถอยระดับโลกในปีนี้ ซึ่งลดลงจากเกือบ 70% เมื่อปีที่แล้ว
มากกว่า 63% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า บริษัทของตนดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อยกเครื่องห่วงโซ่อุปทานด้วยการกระจายฐานผลิตไปยังหลายตำแหน่งที่ตั้ง หรือย้ายฐานผลิตกลับสู่ตลาดบ้านเกิดและประเทศข้างเคียง ในการนี้ จีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตชั้นนำของโลก จัดว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด โดย 37.4% ของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกล่าวว่าตนมีแผนที่จะย้ายฐานผลิตหรือการจัดหาออกจากจีน หรือลดการลงทุนในจีน
"ผู้ให้บริการขนส่งทางทะเลและทางอากาศต่างพยายามที่จะลดความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานให้เหลือน้อยที่สุด และหาโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอยได้บรรเทาลงแล้ว แต่อุตสาหกรรมนี้ยังคงได้รับผลกระทบตามหลังของวิกฤตโรคระบาดโควิด ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่าง ๆ มีความกังวลเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีปัญหาระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และยุโรป ตลอดจนการคว่ำบาตรหลายประเทศเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น" รองประธานของอจิลิตี้ คุณทาเรก สุลต่าน (Tarek Sultan) กล่าว
การสำรวจความคิดเห็นและดัชนีดังกล่าวนี้สะท้อนภาพรวมความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมและจัดอันดับตลาดเกิดใหม่ชั้นนำ 50 แห่งของโลก ซึ่งอจิลิตี้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 15 แล้ว ดัชนีนี้จัดอันดับประเทศต่าง ๆ ตามความสามารถในการแข่งขันในภาพรวม โดยพิจารณาจากจุดแข็งด้านโลจิสติกส์ บรรยากาศทางธุรกิจ และความพร้อมด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความน่าสนใจสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ บริษัทขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศและทางทะเล ผู้กระจายสินค้า และนักลงทุน"
ผลสำรวจชี้ว่า ต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งพุ่งสูงขึ้นระหว่างวิกฤตโรคระบาดโควิดและผลกระทบที่ตามมายังคงเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราที่ช้าลง วิธีหนึ่งที่ผู้ให้บริการขนส่งคาดว่าจะใช้รับมือคือด้วยการเพิ่มการใช้บริษัทขนส่งสินค้าดิจิทัล จาก 37.8% ในปัจจุบันเป็น 52% ในอีกห้าปี
ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในแอฟริกา เกือบ 62% ของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าบริษัทของตนกำลังวางแผนที่จะลงทุนเพิ่มเติมหรือเป็นครั้งแรกในแอฟริกา เทียบกับเพียงราว 7% ที่จะย้ายออกหรือลดระดับการลงทุนในภูมิภาคดังกล่าว
จีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครองอันดับที่ 1 และ 2 ในการจัดอันดับโดยรวม ตามมาด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ เวียดนาม เม็กซิโก และไทย ในอันดับที่ 10 อันดับแรก สำหรับอันดับที่อย่าง 24 แอฟริกาใต้ และ 25 เคนยา จัดเป็นอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้สะฮารา
สามในสี่ของประเทศที่มีเงื่อนไขการทำธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ดีที่สุดตั้งอยู่ในอ่าวอาหรับ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (1), ซาอุดีอาระเบีย (3) และกาตาร์ (4) ส่วนทั้งมาเลเซีย (2) และจอร์แดน (5) ไต่อันดับสูงขึ้นในการจัดอันดับสภาพพื้นฐานทางธุรกิจ
จีนและอินเดียเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ในประเทศและระหว่างประเทศ จีนพุ่งขึ้นสามอันดับสู่อันดับ 1 ในด้านความพร้อมทางดิจิทัล ตามมาด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และกาตาร์ ส่วนอินเดียหล่นจากอันดับสูงสุดเมื่อปีที่แล้วมาอยู่อันดับ 5 ในปีนี้
นอกจาก 10 อันดับแรก ประเทศที่มีความผันผวนมากที่สุดในแง่ของอันดับระหว่างปี ได้แก่ประเทศที่ประสบความขัดแย้ง เผชิญกับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเรื้อรัง อย่างเช่น ยูเครน รัสเซีย อิหร่าน เอธิโอเปีย อาร์เจนตินา เลบานอน ตูนิเซีย
ไฮไลต์ประจำดัชนีปี 2567
แบบสำรวจ
- การปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน – อินเดีย ยุโรป และอเมริกาเหนือมีอันดับสูงกว่าจีน ในการเป็นจุดหมายปลายทางที่ผู้บริหารคาดว่าจะย้ายฐานผลิตไปตั้งอยู่ในปี 2567 เป็นต้นไป
- จีน – 40% คาดว่าธุรกิจของตนจะพึ่งพาจีนน้อยลงในห้าปี ปัจจัยนำอันดับต้น ๆ ของการตัดสินใจลดความเสี่ยงในจีน ประกอบด้วย ความยากของการทำธุรกิจ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ความเข้มงวดของมาตรการโควิดของจีน
- ภาวะโลกรวน – 66% กล่าวว่าภาวะโลกรวนเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังวางแผนรับมือ หรือส่งผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขาแล้ว
- ตลาดเกิดใหม่ – สัดส่วนมากที่สุดมองเห็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นและผลตอบแทนที่ลดลงในตลาดเกิดใหม่
- อินเดีย – หลายรายเล็งเห็นความสำคัญที่ทวีเพิ่มขึ้นของอินเดียในฐานะผู้ผลิตและตลาด แต่ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอและคอร์รัปชันเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดในอินเดีย
การจัดอันดับประเทศ
- ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ อันดับโดยรวม ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (3), ซาอุดีอาระเบีย (6), กาตาร์ (7), ตุรกี (11), บาห์เรน (16), โอมาน (15), จอร์แดน (17), อียิปต์ (20), คูเวต (21), โมร็อกโก (22), ตูนิเซีย (37), เลบานอน (38), อิหร่าน (40), แอลจีเรีย (42), ลิเบีย (50)
- อันดับในแอฟริกาใต้สะฮารา ได้แก่ แอฟริกาใต้ (24), เคนยา (25), กานา (31), ไนจีเรีย (36), แทนซาเนีย (41), ยูกันดา (43), เอธิโอเปีย (45), โมซัมบิก (46), แองโกลา (47)
- อันดับดัชนีในเอเชีย ได้แก่ จีน (1), อินเดีย (2), มาเลเซีย (4), อินโดนีเซีย (5), เวียดนาม (8), ไทย (10), ฟิลิปปินส์ (18), คาซัคสถาน (23), ศรีลังกา (26), ปากีสถาน (29), กัมพูชา (32), บังคลาเทศ (33), เมียนมาร์ (49)
- อันดับในลาตินอเมริกา ได้แก่ เม็กซิโก (9), ชิลี (12), บราซิล (14), อุรุกวัย (19), เปรู (28), โคลอมเบีย (27), อาร์เจนตินา (30), เอกวาดอร์ (35), ปารากวัย (39), โบลิเวีย (44), เวเนซูเอลา (48)
- ในยุโรป ได้แก่ รัสเซีย (13), ยูเครน (34)
ทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ (Transport Intelligence หรือ Ti) บริษัทวิเคราะห์และวิจัยชั้นนำสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นผู้จัดทำดัชนีดังกล่าวนับตั้งแต่ที่เปิดตัวเมื่อปี 2552
คุณจอห์น แมนเนอร์ส-เบลล์ (John Manners-Bell) ประธานบริหารของทรานสปอร์ต อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า "ผู้บริหารจัดการซัพพลายเชนยังคงต้องรับมือกับการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจโลกหลังโควิด ความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการค้าและความเสี่ยงระหว่างประเทศ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องอยู่กับโอกาสและภัยคุกคามที่มีอยู่ในตลาดเกิดใหม่ โดยต้องใช้ข้อมูล อย่างเช่นดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ของอจิลิตี้ ในการให้มุมมองสำหรับการตัดสินใจที่ว่องไวปราดเปรียว"
ดูดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ประจำปี 2567 ของอจิลิตี้ ได้ที่ agility.com/2024index
เกี่ยวกับอจิลิตี้
อจิลิตี้ (Agility) เป็นผู้นำด้านบริการซัพพลายเชน โครงสร้างพื้นฐาน และนวัตกรรมระดับโลก ซึ่งมีพนักงานกว่า 45,000 คนในหกทวีป อจิลิตี้ดำเนินงานและลงทุนในหลายธุรกิจ โดยเชี่ยวชาญด้านการขยายธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ บริษัทในเครืออจิลิตี้ ประกอบด้วย บริษัทผู้ให้บริการด้านการบินรายใหญ่ที่สุดในโลก (เมนซีส์ เอวิเอชัน (Menzies Aviation)), ธุรกิจโลจิสติกส์เชื้อเพลิงระดับโลก (ทริสตาร์ (Tristar)), ผู้นำตลาดด้านนิคมโลติสติกส์ในทั่วตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา (อจิลิตี้ โลจิสติกส์ พาร์คส์ (Agility Logistics Parks)) และบริษัทอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ผู้พัฒนาห้างขนาดใหญ่ระดับเมกะมอลล์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูแพค (UPAC)) บริษัทอื่น ๆ ของอจิลิตี้ส่งมอบบริการระบบศุลกากรดิจิทัล บริการโครงสร้างพื้นฐานทางไกล บริการด้านกลาโหมและรัฐบาล ตลอดจนการสนับสนุนด้านอีคอมเมิร์ซและดิจิทัลโลจิสติกส์ นอกจากนี้ อจิลิตี้ยังเป็นผู้ลงทุนในนวัตกรรม ความยั่งยืน และความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงถือหุ้นส่วนน้อยในพอร์ตฟอลิโอการลงทุนที่กำลังขยายตัวในบริษัทต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์
เว็บไซต์: www.agility.com
Logo – https://mma.prnasia.com/media2/1739997/Agility_Logo.jpg?p=medium600
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.