ผู้เข้าร่วมการประชุมเรียกร้องให้มีเข็มทิศระดับโลกอันใหม่ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และเพิ่มการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน เหล่าซีอีโอเตือนว่าสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์มีความท้าทายรออยู่ข้างหน้า แต่ก็มีโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจอยู่มากมาย อาเจย์ บังกา ประธานธนาคารโลก ให้คำมั่นจะทุ่มเททรัพยากรเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นอกเหนือไปจากการขจัดความยากจน ในขณะที่ประชุมพยายามผลักดันวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับมนุษยชาติ
ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 27 ตุลาคม 2566 /PRNewswire/ — วันเปิดการประชุมความริเริ่มการลงทุนเพื่ออนาคต (FII) ครั้งที่ 7 หรือ FII7 ให้ความสำคัญกับวิธีการที่ประชาคมโลกจะสามารถสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้านความสัมพันธ์ ท่ามกลางความไม่มั่นคง ความกังวลด้านสภาพอากาศและความไม่เท่าเทียมทางสังคมได้อย่างไร โดยผู้เข้าร่วมประชุมต่างก็เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องให้มี ‘เข็มทิศโลก’ ใหม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนโอกาสในการลงทุน
Business and political leaders, including H.R.H Mohammed Bin Salman, gather for first day of Future of Investment Initiative conference in Riyadh
คณะผู้นำในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงคุณเจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ประธานและซีอีโอของเจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค (JP Morgan Chase & Co) และคุณลอเรนซ์ ดี ฟิงก์ ( Laurence D. Fink) ประธานและซีอีโอของแบล็คร็อค (BlackRock), ฯพณฯ ยาซีร์ อัล รูไมยาน (H.E. Yasir Al-Rumayyan) ผู้ว่าการกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดีอาระเบีย ได้พูดถึงการกำหนดแนวทางผ่านน่านน้ำที่ยังไม่เคยได้รับการสำรวจเหล่านี้ รวมถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงความท้าทายให้เป็นโอกาสของการเติบโต ตลอดจนเรื่องผลกระทบและความสามารถในการฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความทะเยอทะยานด้านพลังงานหมุนเวียนของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ฯพณฯ ยาซีร์ อัล รูไมยาน กล่าวว่า "สิ่งที่เราทำในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (KSA) เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับโลก ภายในปี 2573 เราต้องการให้การผลิตไฟฟ้าของเรา 50% มาจากพลังงานหมุนเวียน และอีก 50% จะขึ้นอยู่กับก๊าซที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าของเหลว เราต้องลงทุนในพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ซึ่งหากดูจากเป้าหมายภายในปี 2588 จะมีการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี 2563 แตะที่ 283 ล้านล้านดอลลาร์"
คุณเรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) ผู้ก่อตั้ง ที่ปรึกษาซีไอโอ และสมาชิกคณะกรรมการบริดจ์วอเตอร์ แอสโซซิเอตส์ แอลพี (Bridgewater Associates, LP) กล่าวว่า "สิ่งที่เราเห็นวันนี้ และในขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ซึ่งจะปรากฏให้เห็นความแตกต่างกันในเรื่องความมั่งคั่งและพลังอำนาจ เมื่อดูจากประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์และปัญหาสภาพภูมิอากาศแล้ว เรื่องของปัญหาสภาพภูมิอากาศจะสร้างความเสียหายให้กับจีดีพี (GDP) ประมาณ 5-10 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี นี่จะต้องได้รับการแก้ไข"
คุณเจมี ไดมอน ประธานและซีอีโอของเจพี มอร์แกน กล่าวว่า "การใช้จ่ายทางการคลังสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงเวลาที่สถานการณ์สงบอย่างมีนัยสำคัญ แม้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดจะไม่สร้างความแตกต่างมากนัก แต่การเปลี่ยนแปลงของเส้นอัตราผลตอบแทน 100 จุดนั้นต่างมาก สิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในปัจจุบันคล้ายกับการใช้จ่ายเงินจำนวนมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 แม้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะพยายามผลักดันให้เกิดแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) แต่ก็ยังไม่มีการใช้ภาษีคาร์บอน หรือกลยุทธ์ที่มีเหตุผล"
เนื่องจากพลังงานเป็นหัวข้อหลักในการประชุมตลอดทั้งวัน เรื่องจำเป็นสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้นำสู่การจัดประชุมสุดยอดเวทีพิเศษในด้านพลังงานของงานประชุม FII ซึ่งเนื้อหาของการประชุมเป็นการสำรวจขอบเขตเป้าหมายของความตกลงปารีส ให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ในขณะที่บทบาทของเทคโนโลยีก็มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในการกำจัดก๊าซเรือนกระจก และเป็นย่างก้าวสู่การลดคาร์บอนทั่วโลก
เจ้าชาย อับดุลอะซีซ บิน ซัลมาน อาล ซะอูด (HRH Prince Abdulaziz bin Salman AlSaud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทรงออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า "ราชอาณาจักรแห่งนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นแค่การเปลี่ยนแปลง เพราะยังมีความทะเยอทะยานที่จะเป็นแบบอย่างสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจไฮโดรคาร์บอน เรากำลังตั้งเป้าไปที่ความท้าทาย 3 ประการ คือ ความมั่นคงด้านพลังงาน ความสามารถในการจ่าย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนในด้านความยั่งยืนนั้น ความมุ่งมั่นที่เรามีต่อความตกลงปารีสยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เราไม่เพียงแค่ลงนามในความตกลงฉบับนี้เท่านั้น แต่ยังมีการเจรจาอย่างพิถีพิถันทุกรายละเอียด การดำเนินการตามความตกลงนี้ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ"
คุณอาเจย์ บังกา (Ajay Banga) ประธานธนาคารโลก เสริมว่า "ภารกิจใหม่ของธนาคารโลกคือนอกจากจะมุ่งขจัดความยากจนและแบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองแล้ว แต่ยังต้องทำให้แน่ใจว่าโลกใบนี้จะน่าอยู่ รวมไปถึงการจัดการกับวิกฤติและความท้าทายของโลกที่เกี่ยวพันกัน"
ในการประชุมความริเริ่มการลงทุนเพื่ออนาคต (Future Investment Initiative) ที่ดำเนินอยู่ในกรุงริยาด (24-26 ตุลาคม) มีผู้นำ นักลงทุน และนักสร้างสรรค์นวัตกรรม 6,000 คนจากทั่วโลก มาเข้าร่วมอภิปรายในกว่า 200 หัวข้อที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญ ซึ่งก็คือปัญหาด้านสุขภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความอยู่รอด
คุณริชาร์ด อัตเทียส (Richard Attias) ซีอีโอของสถาบันโครงการลงทุนเพื่ออนาคต (Future Investment Initiative) หรือ FII กล่าวว่า "อนาคตของค่านิยมสำหรับมนุษยชาติคืออนาคตที่เต็มไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ การไม่แบ่งแยก ความอดทน ความรู้ จริยธรรม และสันติภาพ นี่คืออนาคตที่เราตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลโลกของเรา และดูแลกันและกัน"
เกี่ยวกับสถาบัน FII
สถาบันโครงการลงทุนเพื่ออนาคต หรือสถาบัน FII คือมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและมีเครื่องมือการลงทุนและมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือการสร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อมนุษยชาติ เราดำเนินงานอย่างครอบคลุมในระดับโลก เราส่งเสริมผู้มีไอเดียดี ๆ จากทั่วโลกและเปลี่ยนไอเดียเหล่านั้นให้เป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงในสี่ส่วนสำคัญด้วยกัน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และวิทยาการหุ่นยนต์ การศึกษา การดูแลสุขภาพ และความยั่งยืน
รูปภาพ: https://mma.prnasia.com/media2/2257090/FII_Conference_Riyadh.jpg?p=medium600
โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/1811613/FII_Institute_Logo.jpg?p=medium600
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.