อัมสเตอร์ดัม, 16 พฤศจิกายน 2566 /PRNewswire/ — บิลท์ บาย เนเจอร์ (Built by Nature) ซึ่งเป็นเครือข่ายและกองทุนที่มอบทุนสนับสนุน ได้ประกาศจัดการประกวดระดับโลกชิงทุนมูลค่ารวม 500,000 ยูโร เพื่อเชิดชูนวัตกรรมและกระตุ้นการเติบโตและการใช้วัสดุชีวภาพในการก่อสร้างอย่างแพร่หลาย เช่น ไม้แปรรูป, ไม้ไผ่, ป่าน, ฟาง, สาหร่าย และเห็ดรา
https://static.prnasia.com/pro/fec/jwplayer-7.12.1/jwplayer.js jwplayer.key=”3Fznr2BGJZtpwZmA+81lm048ks6+0NjLXyDdsO2YkfE=” jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2275670/Built_by_Nature.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2275670/Built_by_Nature.mp4?p=thumbnail’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});
สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (built environment) เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 40% ของโลก ดังนั้น การหันมาใช้ไม้แปรรูปจากแหล่งที่ยั่งยืนและวัสดุชีวภาพหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับความเป็นจริงในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเมืองและอาคารต่าง ๆ
รางวัลบิลท์ บาย เนเจอร์ ตั้งเป้าค้นหาและดึงดูดผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างจากแหล่งชีวภาพและนวัตกรรมของผู้ผลิตกลุ่มนี้ที่พร้อมออกสู่ตลาดจากทุกภูมิภาค โดยรางวัลนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตกลุ่มนี้สามารถเอาชนะอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดกระแสหลัก
"ด้วยขนาดของการพัฒนาเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั่วโลกในช่วงหลายทศวรรษต่อจากนี้ เราจะไม่สามารถก่อสร้างแบบที่เราเคยทำในยุโรปส่วนใหญ่ในช่วงสองสามร้อยปีที่ผ่านมาได้อีกแล้ว เราจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการค้นหาวัสดุก่อสร้างใหม่ที่เป็นแบบหมุนเวียนและปล่อยคาร์บอนต่ำ เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากอาคารและเมืองใหม่ ๆ" คุณพอล คิง (Paul King) ซีอีโอบิลท์ บาย เนเจอร์ กล่าว "นับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2564 บิลท์ บาย เนเจอร์ได้เห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายในยุโรปซึ่งครอบคลุมองค์กรชั้นนำกว่า 1,300 แห่งที่มุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การมอบรางวัลนี้จะช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตและสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในระดับโลก"
ปัจจุบันบิลท์ บาย เนเจอร์ ได้มอบทุนสนับสนุนไปแล้วกว่า 3.3 ล้านยูโร พร้อมเงินทุนร่วมเพิ่มเติมอีก 2.2 ล้านยูโรให้แก่ 28 โครงการทั่วยุโรปที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันเพื่อเอาชนะอุปสรรคและกระตุ้นการใช้งานวัสดุชีวภาพให้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ไม้แปรรูปทางวิศวกรรม (mass timber)
เพื่อให้สะท้อนถึงขอบเขตของรางวัลระดับโลก คณะกรรมการตัดสินจึงประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากสาขาต่าง ๆ อาทิ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง, สถาปัตยกรรม, การเงิน, ค่านิยมทางสังคม และวัสดุชีวภาพจากทั่วโลก โดยมี ดร. ยาสมีน ลารี (Yasmeen Lari) สถาปนิกหญิงคนแรกของปากีสถานที่มีชื่อเสียงในด้านความเป็นผู้นำที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมกับความยุติธรรมทางสังคม จะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในการมอบรางวัลบิลท์ บาย เนเจอร์ ทั้งนี้ สมาชิกคณะกรรมการมอบรางวัลจะประกอบด้วย
คุณอารีฟ ราบิก (Arief Rabik) – ประธานและผู้ก่อตั้งแบมบู วิลเลจ ทรัสต์ (Bamboo Village Trust) และผู้ก่อตั้งและซีอีโอของพีที อินโดแบมบู เลสตารี (PT Indobamboo Lestari) ในอินโดนีเซีย คุณเอเรียล ชตาร์กแมน (Ariel Shtarkman) – หุ้นส่วนผู้จัดการของอันดิไวเด็ด เวนเจอร์ส (Undivided Ventures) ผู้ก่อตั้งออร์กา แคปิตอล (Orca Capital) และผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของอะตอม แอสเซตส์ (Atom Assets) คุณแมลิง ลอกโก (Mae-ling Lokko) จากกานาและฟิลิปปินส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล ผู้เชี่ยวชาญด้านขยะเกษตรและวัสดุชีวภาพ คุณสติก เฮซเซลลุนด์ (Stig Hessellund) – สถาปนิกและผู้จัดการโครงการร่วมกับเรียลดาเนีย (Realdania) โดยมุ่งเน้นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นหลัก คุณอนา เบลิซาริโอ (Ana Belizario) หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจประจำเออร์เบม (Urbem) ผู้ผลิตไม้แปรรูปทางวิศวกรรมในบราซิล
ผู้ชนะรางวัลโดยรวมจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 250,000 ยูโร ตามเกณฑ์ที่มุ่งเน้นด้านศักยภาพการลดก๊าซคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญและคุณประโยชน์ต่อธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น
รางวัลรองชนะเลิศจำนวนสามรางวัล รางวัลละ 50,000 ยูโรจะมอบให้ตามเกณฑ์เดียวกัน โดยมีเงินทุนตามดุลยพินิจเพิ่มเติมอีก 100,000 ยูโรสงวนไว้สำหรับโครงการที่ดูมีแววและควรค่าแก่การสนับสนุน
เพื่อให้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ โซลูชันที่นำเสนอจะต้องประกอบด้วยวัสดุชีวภาพเป็นหลักที่มีไว้ใช้สำหรับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง รวมถึงตัวผลิตภัณฑ์จะต้องสามารถผลิตและนำไปใช้งานได้สำเร็จโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และผลิตภัณฑ์/บริการดังกล่าวจะต้องมีอยู่ในตลาดแล้ว ไม่ว่าผลิตภัณฑ์/บริการนั้นจะอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นของโครงการนำร่องหรืออยู่ในขั้นที่เผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างแล้วก็ตาม
นอกจากเงินรางวัล ชื่อเสียง และโอกาสในการบอกเล่าเรื่องราวของตนแล้ว ผู้ชนะรางวัลจะยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย อาทิ การพาไปแนะนำตัวกับเครือข่ายระดับแนวหน้าและพันธมิตรที่กว้างขวางของบิลท์ บาย เนเจอร์เพื่อรับคำปรึกษา ตลอดจนการเข้าถึงว่าที่นักลงทุนและตลาดใหม่ ๆ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมวงการที่เผชิญความท้าทายและโอกาสในลักษณะเดียวกันจากทั่วโลก ด้วยการส่งเสริมให้สาธารณชนและอุตสาหกรรมตระหนักรู้และมอบความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และศักยภาพในการประยุกต์ใช้โซลูชันวัสดุของผู้ชนะ ผู้ชนะจะมีส่วนสนับสนุนวิสัยทัศน์และพันธกิจของบิลท์ บาย เนเจอร์โดยตรง
รางวัลบิลท์ บาย เนเจอร์จะปิดรับการยื่นผลงานในวันที่ 25 มกราคม 2567 โดยจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะรอบสุดท้ายในวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์: https://builtbn.org/prize
เกี่ยวกับบิลท์ บาย เนเจอร์
บิลท์ บาย เนเจอร์ (Built by Nature) เป็นเครือข่ายและกองทุนที่มอบทุน โดยได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนเพื่อการกุศล พันธกิจของเราคือเร่งการเปลี่ยนมาใช้ไม้แปรรูปในการก่อสร้างอาคารและมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเป็นมิตรกับธรรมชาติ บิลท์ บาย เนเจอร์สนับสนุนกลุ่มต่าง ๆ ในภาคส่วนสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ได้แก่ นักพัฒนา, สถาปนิกและวิศวกรผู้บุกเบิก, เจ้าของและผู้จัดการสินทรัพย์, นักลงทุนและบริษัทประกันภัย, ผู้นำเมือง, นักวิชาการ, นักวิจัย, องค์กรไม่แสวงผลกำไร และผู้กำหนดนโยบาย เพื่อสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้ได้ลดก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างและได้ปกป้องธรรมชาติ กองทุนบิลท์ บาย เนเจอร์มอบเงินทุนให้แก่ทีมงานและโซลูชันที่สามารถเพิ่มการใช้วัสดุชีวภาพและไม้แปรรูปที่ยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและเอาชนะอุปสรรคที่ท้าทายที่สุด https://builtbn.org/
วิดีโอ – https://mma.prnasia.com/media2/2275670/Built_by_Nature.mp4
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2276180/Built_by_Nature_Logo.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2276195/Built_by_Nature_Prize_Logo.jpg?p=medium600
Source : บิลท์ บาย เนเจอร์ จัดประกวดวัสดุก่อสร้างชีวภาพ ชิงทุนรวมกว่า 500,000 ยูโร
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.