การศึกษาวิจัยทางวิชาการสรุปว่าการเพิ่มอุณหภูมิมาตรฐานของอาหารแช่แข็งโดยส่วนใหญ่ 3 องศาสามารถลดการปล่อยคาร์บอนเทียบเท่ากับการนำรถ 3.8 ล้านคันออกจากถนน การลดการปล่อยคาร์บอนนี้จะเทียบเท่ากับกรณีที่ประชากรทั้งหมดในนิวยอร์ก นิวแฮมป์เชียร์ และเวอร์มอนต์ไม่ขับรถเป็นเวลาหนึ่งปี มีการระบุศักยภาพการประหยัดพลังงานราว 25 เทระวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่ากับ 8.63% ของการบริโภคพลังงานต่อปีในสหราชอาณาจักร การดำเนินการดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานระหว่าง 5% และ 12% นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าการเพิ่มอุณหภูมินี้สามารถทำได้โดยไม่ส่งผลบั่นทอนความปลอดภัยหรือคุณภาพของอาหาร มาตรฐานอุณหภูมิระดับนานาชาติกำหนดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และไม่เคยได้รับการปรับปรุงมาเป็นเวลาเกือบศตวรรษแล้ว ในการนี้ บริษัทโลจิสติกส์ระดับโลกอย่างดีพีเวิลด์ จึงจัดตั้งแนวร่วมในอุตสาหกรรมเพื่อทบทวนมาตรฐานใหม่
ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 29 พฤศจิกายน 2566 /PRNewswire/ — อุณหภูมิของอาหารแช่แข็งสามารถเปลี่ยนแปลงเพียง 3 องศา เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เทียบเท่ากับรถยนต์ 3.8 ล้านคันต่อปี งานวิจัยชี้
อาหารแช่แข็งส่วนใหญ่ขนส่งและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเมื่อ 93 ปีก่อนและไม่เคยเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การศึกษาวิจัยพบว่า การปรับเป็น -15 องศาเซลเซียสจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่บั่นทอนความปลอดภัยหรือคุณสมบัติของอาหาร
เหล่าผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ อาทิ สถาบันการทำความเย็นระหว่างประเทศ (International Institute of Refrigeration) ในปารีส มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham) และมหาวิทยาลัยลอนดอน เซาธ์ แบงก์ (London South Bank University) และที่อื่น ๆ พบว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้สามารถส่งผลดังต่อไปนี้
ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 17.7 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซของรถยนต์ 3.8 ล้านคันต่อปี ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานราว 25 เทระวัตต์ชั่วโมง(TW/h) ซึ่งเทียบเท่ากับ 8.63% ของการบริโภคพลังงานต่อปีในสหราชอาณาจักร ลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างน้อย 5% และในบางด้านได้ถึง 12%
การศึกษาวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลกและพันธมิตรรายหลักใน COP28 ได้แก่ ดีพีเวิลด์ (DP World) ซึ่งได้จัดตั้งแนวร่วมที่ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยใช้ชื่อว่า ร่วมมุ่งสู่ -15 องศาเซลเซียส (Join the Move to -15°C)
แนวร่วมดังกล่าวนี้มุ่งที่จะปรับเปลี่ยนมาตรฐานอุณหภูมิอาหารแช่แข็งเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ลดต้นทุนในห่วงโซ่อุปทาน และสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารสำหรับประชากรโลกที่กำลังขยายตัว
ขณะนี้มีองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมเข้าร่วมในแนวร่วมนี้แล้ว ประกอบด้วย เอเจซี กรุ๊ป (AJC Group) จากสหรัฐฯ, เอ.พี. โมลเลอร์ – เมอส์ก (A.P. Moller – Maersk) หรือเมอส์ก จากเดนมาร์ก, ไดกิน (Daikin) จากญี่ปุ่น, ดีพีเวิลด์, พันธมิตรการขนส่งรักษาความเย็นระดับโลก (Global Cold Chain Alliance), คูห์เน่ พลัส นาเกิ้ล อินเตอร์เนชันแนล (Kuehne + Nagel International) จากสวิตเซอร์แลนด์, ลีนิจ (Lineage) จากสหรัฐฯ, เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิง คอมปานี (Mediterranean Shipping Company หรือ MSC) จากเจนีวา และ โอเชียน เน็ตเวิร์ก เอ็กซ์เพรส (Ocean Network Express หรือ ONE) จากสิงคโปร์
คุณมาฮา อัลคัตทาน (Maha AlQattan) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนประจำเครือของดีพีเวิลด์ กล่าวว่า "มาตรฐานอาหารแช่แข็งไม่ได้รับการปรับปรุงมาเป็นเวลาเกือบศตวรรษแล้ว จึงควรมีการทบทวนแก้ไขมานานแล้ว
"การเพิ่มอุณหภูมิเล็กน้อยสามารถก่อประโยชน์ได้ใหญ่หลวง แต่ไม่ว่าองค์กรแต่ละแห่งจะทุ่มเทจริงจังเพียงใด อุตสาหกรรมนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นไปได้ด้วยการร่วมมือกันเท่านั้น
"ด้วยการศึกษาวิจัยนี้ ประกอบกับแนวร่วมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ของเรา เรามุ่งที่จะสนับสนุนการทำงานร่วมกันในทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพื่อหาหนทางที่ปฏิบัติได้จริงในการบรรลุเป้าหมายร่วมกันของอุตสาหกรรม ว่าด้วยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593
"มุ่งสู่ -15 องศาเซลเซียสจะพาให้อุตสากรรมนี้ได้ร่วมกันสำรวจมาตรฐานใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมนี้ในระดับโลก งานวิจัยนี้ทำให้เราเล็งเห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาที่เข้าถึงได้ในตลาดทุกแห่งเพื่อแช่แข็งอาหารในระดับอุณหภูมิที่ยั่งยืน พร้อมทั้งลดการขาดแคลนอาหารสำหรับชุมชนต่าง ๆ ทั้งที่เปราะบางและที่พัฒนาแล้ว"
สร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัว และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
ในแต่ละปีมีการขนส่งอาหารปริมาณหลายร้อยล้านตันในทั่วโลก ตั้งแต่บลูเบอร์รี่ไปจนถึงบรอกโคลี
แม้ว่าการแช่แข็งอาหารช่วยยืดอายุการเก็บรักษา แต่ก็มาพร้อมกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่สูง เนื่องจากต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 2-3% สำหรับทุก ๆ องศาติดลบที่ใช้ในการเก็บรักษาอาหาร
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังดำเนินการเพื่อลดคาร์บอน โดยขณะนี้ยังเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามความต้องการอาหารแช่แข็งกำลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการด้านอาหารพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในประเทศกำลังพัฒนา และผู้บริโภคที่มีสำนึกด้านราคามุ่งแสวงหาอาหารที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการในราคาที่เข้าถึงได้มากกว่า
ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญประมาณว่า 12% ของอาหารที่ผลิตขึ้นต่อปีกลายเป็นของเหลือทิ้งเนื่องจากขาดระบบโลจิสติกส์ที่มีการทำความเย็นและแช่แข็งในอุตสาหกรรม ซึ่งเรียกว่า ‘โคลด์เชน’ (cold chain) หรือระบบขนส่งรักษาความเย็น ตอกย้ำความต้องการสมรรถภาพที่สูงขึ้นอย่างมาก
การศึกษายังชี้ว่ามีการทิ้งอาหารที่ยังสามารถรับประทานได้ 1.3 พันล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตสำหรับบริโภคโดยมนุษย์ในระดับโลก
ความต้องการดังกล่าวนี้รุนแรงเป็นพิเศษในพื้นที่อย่างแอฟริกาใต้สะฮาราและอนุทวีป ตัวอย่างเช่น ในปากีสถานในปี 2565 มะม่วงที่สามารถส่งออกได้ต้องสูญไปเนื่องจากคลื่นความร้อนรุนแรง
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้อดอยากหิวโหยอยู่มากกว่า 820 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบความไม่มั่นคงทางอาหาร 2 พันล้านคน ซึ่งเท่ากับราวหนึ่งในสี่ของประชากรโลก
อาจารย์โทบี ปีเตอร์ส (Toby Peters) จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมและมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ (Heriot-Watt University) และผู้อำนวยศูนย์การทำความเย็นที่ยั่งยืน (Centre for Sustainable Cooling) กล่าวว่า "ระบบขนส่งรักษาความเย็นเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมและเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างราบรื่น เนื่องจากรองรับการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนการมีสุขภาพที่ดี อีกทั้งยังรวมไปถึงความสามารถของเราในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า "โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งแบบรักษาความเย็น และการขาดโครงสร้างพื้นฐานเช่นนั้น มีนัยสำคัญสำหรับสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกรวนในระดับโลก"
เหตุการณ์ที่เกิดจากภาวะโลกรวน อย่างเช่น ภัยแล้ง อุทกภัย และคลื่นความร้อน สามารถลดผลผลิต อีกทั้งยังก่อผลเสียต่อสุขภาพและผลิตภาพของปศุสัตว์ แต่การแช่แข็งอาหารสามารถปกป้องแหล่งอาหารและคุณค่าทางโภชนาการได้เป็นเวลาหลายเดือนในระหว่างวิกฤตเหล่านั้น
ร่วมมุ่งสู่ -15 องศาเซลเซียส เป็นโครงการริเริ่มที่สร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม โดยใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาที่เข้าถึงได้ในระดับโลกเพื่อแช่แข็งอาหารในระดับอุณหภูมิที่ยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อลดการขาดแคลนอาหารสำหรับชุมชนต่าง ๆ ทั้งที่เปราะบางและที่พัฒนาแล้ว
อาจารย์ปีเตอร์สกล่าวเสริมว่า "สหประชาชาติพยากรณ์ว่าจะมีประชากร 9.7 พันล้านคน ภายในปี 2593 เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะมีความสามารถในการเข้าถึงอาหาร เราจะต้องปิดช่องว่าง 56% ในห่วงโซ่อุปทานอาหารระดับโลก ระหว่างอาหารที่มีการผลิตในปี 2553 กับปริมาณอาหารที่จะเป็นที่ต้องการในปี 2593
"การลดการปล่อยคาร์บอนของโคลด์เชนและเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บรักษาและเคลื่อนย้ายอาหารอย่างปลอดภัยในวันนี้ ช่วยทำให้แน่ใจว่าเราสามารถจัดหาอาหารให้กับชุมชนทั่วโลกอย่างยั่งยืนต่อไป ขณะที่ประชากรและอุณหภูมิโลกต่างเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยปกป้องแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการไปอีกหลายต่อหลายปี
"เพื่อสานต่อจากงานวิจัยนี้ แนวร่วมของดีพีเวิลด์สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการพิชิตความท้าทายด้านอาหารในปัจจุบันเช่นกัน โดยมอบอุปทานอาหารมีคุณภาพที่มีเสถียรภาพสำหรับผู้หิวโหย 820 ล้านคนในทั่วโลก และมอบความมั่นคงสำหรับคนอีก 2 พันล้านคนที่กำลังประสบกับภาวะขาดแคลนอาหาร"
ขอเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการริเริ่ม ‘ร่วมมุ่งสู่ -15 องศาเซลเซียส’
ดีพีเวิลด์ทำให้งานวิจัยนี้เข้าถึงได้สำหรับทุกคน และได้เชิญให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้นำในอุตสาหกรรม และผู้สนใจร่วมแสดงการสนับสนุนแคมเปญนี้
ดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือเข้าร่วมโครงการริเริ่มดังกล่าวนี้ได้ที่เว็บไซต์ของดีพีเวิลด์
เกี่ยวกับดีพีเวิลด์
การค้าเป็นเหมือนโลหิตหล่อเลี้ยงชีวิตของเศรษฐกิจโลก โดยสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับคนทั่วโลก ในแง่นี้ ดีพีเวิลด์ (DP World) ดำรงอยู่เพื่อทำให้การค้าในโลกไหลเวียนได้ดีขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับลูกค้าและชุมชนที่เราให้บริการในทั่วโลก
ด้วยทีมพนักงานมืออาชีพผู้อุทิศตนที่มีความหลากหลายจำนวนกว่า 103,000 คนใน 75 ประเทศในหกทวีป ดีพีเวิลด์ขยายพรมแดนของการค้าออกไปไกลกว่าเดิมและรวดเร็วมากขึ้น สู่ห่วงโซ่อุปทานที่ไร้รอยต่ออย่างสอดรับกับอนาคต ในเอเชียแปซิฟิก ดีพีเวิลด์มีพนักงานมากกว่า 7,000 คน อีกทั้งยังมีท่าเรือและท่าเทียบเรือใน 17 ตำแหน่งที่ตั้ง
เราดำเนินการเปลี่ยนแปลงและบูรณาการธุรกิจของเราอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย ท่าเรือและท่าเทียบเรือ บริการทางทะเล โลจิสติกส์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังผสานโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของเราเข้ากับความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น เพื่อสร้างโซลูชันห่วงโซ่อุปทานครบวงจรที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีดำเนินการค้าของโลก
ยิ่งไปกว่านั้นเรายังร่วมสร้างอนาคตด้วยการลงทุนในนวัตกรรม ตั้งแต่ระบบการจัดส่งอัจฉริยะไปจนถึงการจัดเรียงสินค้าในโกดังอัตโนมัติ เราอยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีที่พลิกผัน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมนี้ไปสู่วิถีการค้าที่ดีกว่าเดิม ทั้งนี้โดยลดความติดขัดชะงักงันให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ตั้งแต่จากพื้นโรงงานไปจนถึงประตูบ้านของลูกค้า
เราทำให้การค้าดำเนินราบรื่น
เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.