ฮ่องกง (3 เมษายน 2562) – ประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียยังคงเติบโตอย่างแข่งแกร่งทั่วทั้งภูมิภาค แต่ในระดับที่ชะลอตัวในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่มีอย่างต่อเนื่อง
รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2562 (Asian Development Outlook (ADO) 2019) ซึ่งเป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจฉบับหลักของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี คาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ในปี 2562 และร้อยอละ 5.6% ในปี 2563 และคาดว่าประเทศเอเชียกำลังพัฒนา (ซึ่งไม่ได้รวมประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และไต้หวัน) จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2562 เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.4 ในปี 2561 และลดต่ำลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 นปี 2563
นายยาซูยูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีกล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมยังเข้มแข็งจากการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งและการขยายตัวในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งได้ช่วยลดผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง
ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนยังคงเป็นความเสี่ยงหลักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการเจรจาที่ยืดเยื้อจะยิ่งผลักดันให้เกิดความไม่แน่นอนในการค้าโลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จากโอกาสการชะลอตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเศรษฐกิจจีน รวมทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจ
เอดีบีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น รวมกันอาจชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และร้อยละ 1.6 ในปี 2563 เนื่องจากความตึงตัวทางการคลังและการเงินของสหรัฐอเมริกา ความไม่แน่นอนของแนวโน้มการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ และความขัดแย่งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา
ในประเทศจีน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคบริการ และการเงินที่ตึงตัวจากนโยบายรัฐบาลที่พยายามควบคุมความเสี่ยงทางการเงินจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2562 และร้อยละ 6.1 ในปี 2563 ลดลงจากที่เคยเติบโตร้อยละ 6.6 ในปี 2561 ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง ในขณะที่ระดับการพัฒนาของจีนเพิ่มสูงขึ้น
ในทางตรงกันข้าม การบริโภคที่แข็งแกร่งขึ้นในอินเดียจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวขึ้นจากร้อยละ 7 ในปี 2561 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 ในปี 2562 และร้อยละ 7.3 ในปี 2563 อันเนื่องมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและนโยบายสนับสนุนรายได้เกษตรกรที่จะช่วยเพิ่มความต้องการซื้อในประเทศ สำหรับภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียใต้จะดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ในปีนี้ และร้อยละ 6.9 ในปีหน้า
การเติบโตของเศรษฐกิจกลุ่มแปซิฟิกจะกลับมาดีขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในปี 2561 เป็นร้อนละ 3.5 ในปี 2562 เนื่องจากการผลิตก๊าซธรรมชาติในปาปัวนิวกินี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จะกลับมาผลิตได้เต็มกำลังภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในปี 2561 ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2563 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2
ราคาน้ำมันที่ลดลงควบคู่กับการชะลอตัวของเศรษฐกิจรัสเซียจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียกลาง โดยอัตราการเติบโตของภูมิภาคนี้คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ในปีนี้ และในปี 2563
นอกจากนี้ งานวิจัยในรายงาน ADO ฉบับล่าสุด ยังระบุอีกว่า เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาอาหารและราคาน้ำมันที่ทรงตัว จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.5 ทั้งในปี 2562 และปี 2563
ในขณะที่ค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียค่อนข้างปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 งานวิจัยของเอดีบีดังกล่าววชี้ให้เห็นว่า ความผันผวนของค่าเงินยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหนี้ในสกุลดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างมาก ดังนั้น นโยบายการเงินและนโยบานเศรษฐกิจมหภาคที่รัดกุม ควบคู่กับการพูดคุยเชิงนโยบายในภูมิภาค และตลาดทุนในท้องถิ่นที่มีการพัฒนาเชิงลึก จะช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงตัวของการระดมทุนจากต่างประเทศได้
เอดีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป ในปี 2018 การดำเนินงานของเอดีบีทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่ามีมูลค่ารวมทั้งหมด 21.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดยมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 68 ประเทศ โดย 49 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค
Discover more from Thailand Business News
Subscribe to get the latest posts sent to your email.